ลองคำนวณค่าใช้จ่ายและเวลาที่ใช้ในการเดินเรื่องแต่งงานระหว่างประเทศ


ผมกับแฟนคนไทยที่วิ่งวุ่นทำเรื่องการแต่งงานระหว่างประเทศกันมา
สุดท้ายเราได้ลองมาคำนวณค่าเสียเวลาและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นครับ

การทำเรื่องแต่งงานกับคนไทย แตกต่างกับการทำเรื่องแต่งงานระหว่างคนญี่ปุ่นด้วยกันเองครับ มีเรื่องท้าทายเกิดขึ้นเยอะแยะเลยครับ
โดยเฉพาะการไปทำเรื่องจดทะเบียนที่เขต ผมวนเวียนไปมาตั้ง 5 รอบ เหนื่อยสุดๆครับ

การที่ต้องไปมาตั้ง 5 รอบ ทำให้เราหัวเสียครับ ผมเลยคำนวณค่าเสียเวลาเข้าไปเพิ่มด้วยซะหน่อย

เพื่อให้คำนวณง่ายๆผมคิดค่าเสียเวลา 1 ชั่วโมง 1,000 เยน (ประมาณ 300 บาท) ครับ
ค่าใช้จ่ายต่อไปนี้เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการเดินเรื่องแต่งงานเท่านั้นนะครับ ไม่ได้รวมค่าใช้จ่ายสำหรับงานแต่งเข้าไปด้วยครับ

ผมหวังว่าบทความนี้จะเป็นแนวทางในการตัดสินใจให้กับผู้ที่กำลังจะแต่งงานกับคนไทยนะครับ ว่าจะดำเนินเรื่องเอง หรือจะจ้างคนทำเรื่องให้ดี

เตรียมเอกสารที่ต้องใช้

ก่อนอื่นต้องเตรียมเอกสารที่จำเป็นสำหรับยื่นคำร้อง ผมให้ที่บ้านส่งใบสำมะโนครัวมาให้จากญี่ปุ่นครับ

  • ใบสำมะโนครัวญี่ปุ่น ฉบับละ 450 เยน×3 ฉบับ
  • EMS 900 เยน
  • ค่าเสียเวลา 2 ชั่วโมง

รวม 4,250 เยน

ตอนที่ขอให้ที่บ้านส่งใบสำมะโนครัวมาให้เพื่อทำเรื่องแต่งงานมีจดหมายจากแม่แนบมาด้วยครับ
จดหมายของแม่จากญี่ปุ่น!ตอนที่ขอให้ที่บ้านส่งใบสำมะโนครัวมาให้เพื่อทำเรื่องแต่งงานมีจดหมายแนบมาด้วยครับ

ยื่นคำร้อง/รับเอกสาร”หนังสือปฏิญาณคุณสมบัติในการสมรส”และ”หนังสือรับรองความเป็นโสด”

ผมไปสถานทูตญี่ปุ่นในประเทศไทยเพื่อให้สถานทูตออกใบรับรองว่าผมสามารถแต่งงานกับคนไทยได้

  • ค่าธรรมเนียม 850 บาท
  • ค่าเดินทาง ประมาณ 60 บาท
  • ค่าเสียเวลา 4 ชั่วโมง(ยื่นเอกสาร)+1 ชั่วโมง(รับเอกสาร)

รวม 2,410 บาท

บทความตอนที่ไปยื่นเอกสาร
ยื่น「หนังสือปฏิญาณคุณสมบัติในการสมรส」และ「หนังสือรับรองความเป็นโสด」ที่สถานทูตญี่ปุ่นเพื่อดำเนินเรื่องแต่งงานกับคนไทย

บทความตอนที่ไปรับเอกสาร
【แต่งงานกับคนไทย】ไปรับเอกสาร「หนังสือปฏิญาณคุณสมบัติในการสมรส」และ「หนังสือรับรองความเป็นโสด」ที่สถานทูตญี่ปุ่นในประเทศไทย

ไปแปลและรับรองคำแปลที่สถานกงสุลไทย

ผมไปให้ทางสถานกงสุลไทยออกใบรับรองคำแปลเอกสารที่ผมได้มาจากสถานทูตญี่ปุ่นครับ

  • ค่าแปลเอกสาร 900 บาท(อาจจะสามารถจ้างแปลได้ในราคา 200 บาท)
  • ค่ารับรองเอกสาร 800 บาท
  • ค่าส่ง 60 บาท
  • ค่าเดินทาง ประมาณ 250 บาท
  • ค่าเสียเวลา 4 ชั่วโมง

รวม 3,210 บาท

บทความตอนที่ไปยื่นขอรับรองคำแปล
[แต่งงานกับคนไทย]ไปดำเนินเรื่องรับรองคำแปลเอกสาร “หนังสือปฏิญาณคุณสมบัติในการสมรส” และ “หนังสือรับรองความเป็นโสด” ที่กรมการกงสุลไทย

บทความตอนที่ EMS ส่งมาถึง
EMSเอกสารรับรองคำแปล“หนังสือปฏิญาณคุณสมบัติในการสมรส” และ “หนังสือรับรองความเป็นโสด”จากกรมการกงสุลส่งมาถึงแล้ว! (แบบยับๆ)

ไปขอยื่นจดทะเบียนสมรสที่ที่ว่าการเขตในกรุงเทพ

และแล้วก็มาถึงส่วนที่หินที่สุด ที่ทำให้เราหัวเสียกันครับ
ถ้าไม่มีส่วนนี้ผมคงไม่ได้เขียนบทความรวมค่าใช้จ่ายนี้ขึ้นมาเป็นแน่

ครั้งที่ 1 ยื่นจดทะเบียนพิเศษที่เขตบางรัก

ตอนที่จะไปยื่นจดทะเบียนอยู่ใกล้ช่วงเทศกาลวาเลนไทน์พอดี ผมจึงลองไปจดทะเบียนสมรสในวันวาเลนไทน์( 14 กุมภาพันธ์ 2016 (อา.)) ที่เขตบางรักได้จัดขึ้นเป็นพิเศษมาครับ

  • ค่าเดินทาง 150 บาท
  • ค่าเสียเวลา 3 ชั่วโมง × 2 คน

รวม 1,950 บาท

เนื่องจากเป็นการจดทะเบียนในวันพิเศษที่เขตบางรักจัดขึ้น ผมต้องเจอกับปัญหาเข้าจนได้ เพราะสำหรับชาวชาวต่างชาติต้องลงทะเบียนมาก่อนล่วงหน้าเท่านั้น
ตั้งใจจะจดทะเบียนสมรสในวันวาเลนไทน์แท้ๆ แต่แล้วก็ต้องพบว่าจดทะเบียนกับชาวต่างชาติต้องลงทะเบียนล่วงหน้าเท่านั้น!

ครั้งที่ 2 เขตวัฒนา

หลังจากหายเซ็ง เราก็ไปลองจดทะเบียนที่เขตวัฒนาที่ตั้งอยู่ในซอยทองหล่อมาครับ

  • ค่าเดินทาง 60 บาท × 2 คน
  • ค่าเสียเวลา 1 ชั่วโมง ×2 คน

รวม 720 บาท

แต่กลับไม่มีผู้มีอำนาจเซ็นต์เอกสาร ก็เลยจดทะเบียนไม่ได้

ครั้งที่ 3 เขตพระโขนง

หลังจากที่พลาดจากเขตวัฒนา เราก็เดินทางต่อไปยังเขตพระโขนงทันทีครับ

  • ค่าเดินทาง 60 บาท × 2 คน
  • ค่าเสียเวลา 3 ชั่วโมง ×2 คน

รวม 1,920 บาท

เจอปัญหาใหม่ เพราะเขตพระโขนงต้องการเอกสารสำคัญอย่างอื่นเพิ่ม
ไปขอจดทะเบียนสมรสแต่ถูกปฏิเสธ! ทั้งเจ้าหน้าที่ไม่อยู่บ้าง ทั้งแต่ละเขตเอกสารก็ไม่เหมือนกันบ้าง

ครั้งที่ 4 เขตบางรัก

หลังจากผิดหวังจากเขตพระโขนงวันก่อน ผมก็มาลองใหม่อีกครั้งที่เขตบางรัก

  • ค่าเดินทาง ประมาณ 80 บาท
  • ค่าเสียเวลา 2 ชั่วโมง ×2 คน

รวม 1,280 บาท

ที่ว่าการเขตบางรัก รองรับการจดทะเบียนให้แก่คู่สมรสชาวไทยกับชาวต่างชาติเพียงวันละ 8 คู่ พอลองไปดู พบว่าพวกเราเป็นคู่ที่ 9 (กรอกตามองบน) เจอกับความซวยอีกแล้วครับ

ครั้งที่ 5 เขตบางกอกน้อย

แม้จะยังไม่สบอารมณ์ดีนักจากเรื่องคู่ที่ 9 ของเขตบางรัก ผมก็ไปลองจดที่เขตบางกอกน้อยต่อ

  • ค่าเดินทาง ประมาณ 200 บาท
  • ค่าเสียเวลา 2 ชั่วโมง ×2 คน

รวม 1,400 บาท

สุดท้ายเกมส์แห่งปัญหาก็จบลง เราได้รับการจดทะเบียนสมรสจนได้ครับ
จดทะเบียนสมรสสำเร็จแล้ว! ถึงแม้จะไปที่ว่าการเขตในกรุงเทพตั้ง 5 ครั้งกว่าจะได้ก็เถอะ

ไปยื่นแจ้งเรื่องจดทะเบียนสมรสที่สถานทูตญี่ปุ่น

หลังจากได้รับการจดทะเบียนจากเขตบางกอกน้อยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผมก็เดินทางไปยังสถานทูตญี่ปุ่นต่อเพื่อแจ้งยื่นจดทะเบียนสมรสทางฝั่งญี่ปุ่นครับ

  • ค่าเดินทาง 50บาท ×2 คน
  • ค่าเสียเวลา 2 ชั่วโมง ×2 คน

รวม 1,250 บาท

การทำเรื่องที่สถานทูตญี่ปุ่นเป็นไปอย่างราบรื่นเสียจนผมอดคิดไม่ได้ว่าความวุ่นวายที่เจอตอนทำเรื่องที่ที่ว่าการเขตไทย มันคืออะไรกัน!!

สรุปแล้วยอดรวมคือเท่าไหร่?

  1. เตรียมเอกสารที่จำเป็น:4,250 เยน(ประมาณ 1,420 บาท)
  2. ยื่นคำร้อง/รับเอกสาร”หนังสือปฏิญาณคุณสมบัติในการสมรส”และ”หนังสือรับรองความเป็นโสด”:2,410 บาท
  3. แปลและรับรองคำแปลที่สถานกงสุลไทย:3,210 บาท
  4. ยื่นเรื่องขอจดทะเบียนที่ที่ว่าการเขตในกรุงเทพ:7,270 บาท
  5. ไปยื่นแจ้งเรื่องจดทะเบียนสมรสที่สถานทูตญี่ปุ่น:1,250 บาท

ผลลัพธ์ยอดรวมคือ

、、、

、、

รวมทั้งสิ้น:15,560 บาท

พอคำนวณที่ 1 บาท เท่ากับ 3 เยน ก็จะได้
รวมทั้งสิ้น:46,680 เยน

แพงกว่าที่คิดไว้ครับ…

รวมเวลาที่ใช้ไปทั้งสิ้น 37 ชั่วโมง
แค่ค่าเสียเวลาอย่างเดียวก็คำนวณได้ 11,000 บาท แล้วครับ

ไทม์ อิส มันนี่~
จะทำเรื่องแต่งงานเองหรือจ้างคนมาทำให้ก็ขึ้นอยู่กับคุณแล้วครับ ฮ่าๆ

タイ人と国際結婚カテゴリの最新記事