การแต่งงานระหว่างคนไทยและคนต่างชาติ สำหรับการดำเนินเรื่องที่ไทย จำเป็นต้องได้หนังสือปฏิญาณคุณสมบัติในการสมรส และ หนังสือรับรองความเป็นโสดที่ออกโดยสถานทูตญี่ปุ่นในประเทศไทยครับ
ขั้นตอนการดำเนินเรื่องการแต่งงานกับคนไทย
ผมกำลังจะแต่งงานกับแฟนคนไทยที่คบหาดูใจกันมาครับ
เรื่องราวต่างๆที่ผ่านมาผมได้รวบรวมไว้ในหมวด “แต่งงานกับคนไทย“ครับ
ซึ่งการแต่งงานระหว่างคนไทยและชาวต่างชาติจะมีขั้นตอนอย่างไรนั้น ผมได้ทดลองเดินเรื่องด้วยตนเองและทำการรวบรวมขึ้นมาครับ
ในกรณีของผมคือ ผมอาศัยอยู่ที่กรุงเทพ ส่วนแฟนผมก็อาศัยอยู่ที่กรุงเทพด้วยเช่นกัน
ผมจึงดำเนินตามขั้นตอนจากไทยก่อน ถึงจะเริ่มดำเนินเรื่องต่อไปที่ญี่ปุ่น
ขั้นตอนการดำเนินเรื่องแบบคร่าวๆ
- ไปให้สถานทูตญี่ปุ่นออกเอกสารรับรองว่าผมสามารถแต่งงานกับคนไทยได้
- เอาเอกสารไปให้ให้กระทรวงต่างประเทศของไทยรับรอง
- จดทะเบียนสมรสที่ที่ว่าการอำเภอไทย
- ส่งเอกสารการจดทะเบียนสมรสไปที่ญี่ปุ่น
ขั้นตอนที่ต้องทำในครั้งนี้คือ ข้อ 1 ครับ
ตรวจสอบเอกสารสำคัญ
เอกสารสำคัญที่จะต้องใช้ ผมได้เขียนบอกไปแล้วในบทความตอนที่แล้ว
ในส่วนของทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น จำเป็นต้องส่งมาจากญี่ปุ่น ดังนั้นควรเตรียมก่อนล่วงหน้า 1 สัปดาห์นะครับ
เอกสารที่คู่สมรสฝ่ายญี่ปุ่นจะต้องเตรียม
- หนังสือเดินทาง
- ใบอนุญาตทำงาน
- ทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น(โคะเซกิโทฮง) 3 ฉบับ
- หนังสือรับรองการทำงานและหนังสือรับรองรายได้
เนื่องจากผมทำงานอยู่ในประเทศไทย จึงขอให้ทางบริษัททำเอกสารให้ครับ
ไม่จำเป็นต้องใช้หัวกระดาษทางการของบริษัทครับ
จะออกเป็นภาษาไทย อังกฤษ หรือญี่ปุ่นก็ได้ครับ
ตัวจริง และสำเนาหน้าที่มีรูปถ่ายและข้อมูลส่วนตัว
ตัวจริงและสำเนาหน้าที่ได้รับการประทับล่าสุด
เอกสารตัวจริงที่ได้รับการออกนับจากวันที่จะยื่นภายใน 3 เดือน ผมให้ครอบครัวที่ญี่ปุ่นส่งมาให้ครับ
ในการยื่นเอกสารขอหนังสือปฏิญาณคุณสมบัติในการสมรส และ หนังสือรับรองความเป็นโสดใช้ทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่นเพียงฉบับเดียวก็จริงแต่ในขั้นตอนการยื่นจดทะเบียนสมรสจำเป็นต้องใช้อีก 2 ฉบับ ดังนั้น รวบรวมส่งมาจากญี่ปุ่นในครั้งเดียวดีกว่าครับ
เอกสารที่คู่สมรสฝ่ายไทยจะต้องเตรียม
ไม่จำเป็นต้องแปลและรับรองการแปล
- หนังสือเดินทาง
- ทะเบียนบ้าน
- บัตรประจำตัวประชาชน(ID Card)
ตัวจริง และสำเนาหน้าที่มีรูปถ่ายและข้อมูลส่วนตัว(ถ้าไม่มีก็ไม่จำเป็นต้องนำมา)
ตัวจริงและสำเนาหน้าแรก,หน้าที่มีชื่อตัว และหน้าที่ 18 รวมทั้งหมด 3 หน้า
ตัวจริงและสำเนา
เกี่ยวกับทะเบียนบ้าน
ทะเบียนบ้านคือเอกสารที่แสดงถึงถิ่นที่อยู่ของไทย
ทะเบียนบ้านของไทยนั้นหน้าตาคล้ายๆกับสมุดบัญชีธนาคารครับ จะมีชื่อของเจ้าบ้านอยู่ในหน้าแรก และผู้อาศัยอยู่ในหน้าถัดๆไปครับ
ซึ่งต่างจากทะเบียนบ้านญี่ปุ่น(จุมินเฮียว) เล็กน้อยคือ มีกรณีที่จริงๆแล้ว พ่ออยู่บ้านด้วยกันมีแม่เป็นเจ้าบ้าน ส่วนชื่อพ่อเป็นเจ้าบ้านอีกหลัง ดังนั้นทะเบียนบ้านภายในครอบครัวก็จะซับซ้อนขึ้นมาครับ
ยื่นเอกสารที่สถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
ผมได้ถ่ายเอกสารสำรองไว้หลายๆชุดเผื่อเอาไว้ แล้วเอาให้แฟนเซ็นต์ในส่วนที่เป็นเอกสารของแฟน
สถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยเปิดทำการเฉพาะวันธรรมดาเท่านั้นครับ
ผมจึงขอลากิจออกไปทำเรื่องประมาณ 1ชั่วโมง
(ทำเรื่องใช้เวลาประมาณชั่วโมงกว่าๆครับ)
ลงรถไฟใต้ดินMRT ที่สถานีลุมพินี ทางออกหมายเลข3จากนั้นเดินไปยังสถานทูตใช้เวลาประมาณ 5 นาทีครับ
สิ่งที่ผมอยากจะให้ระวังนิดนึงคือประตูทางเข้าออกของสถานทูตมี 2 ทาง ครับ
ครั้งนี้ผมมายื่นเรื่องขอหนังสือปฏิญาณคุณสมบัติในการสมรส และ หนังสือรับรองความเป็นโสด จึงต้องไปติดต่อที่สำนักกงสุลครับ
อันนี้ทางเข้าออกตึกสำนักงานครับ
ในกรณีที่มีนัดกับบุคคลภายในสถานทูต ต้องเข้าประตูนี้ครับ
ที่ทางเข้าออกมียามรักษาความปลอดภัยรักษาการอยู่อย่างแน่นหนา ผมถูกถามว่ามีนัดธุระหรือไม่จากยามที่อยู่ข้างในป้อมกระจกสีทึบเกือบดำสนิท
ผมเข้าผิดฝั่งตั้งใจจะมาตึกสำนักงานซึ่งแน่นอนว่าไม้ได้มีนัดกับทางสถานทูตครับ
ยามเป็นคนไทยครับ จึงฟังภาษาญี่ปุ่นไม่ออก
「เอา เต่งกาน เอ็กกะสาน」
(ต้องการเอกสารการแต่งงาน)
พอผมพูดภาษาไทยแบบงูๆปลาๆแบบนั้นไปปุ๊บ เหมือนยามจะฟังผมที่ผมบอกเข้าใจ และบอกทางเข้าสำนักงานให้แก่ผม
※ภาษาไทยที่ถูกต้องคือ “เอาเอกสารการแต่งงาน”
นี่คือทางเข้าสถานทูตครับ
เอ่อ..เป็นทางเข้าฝั่งสำนักงานครับ
ผมรู้สึกได้ถึงการ(ไม่)ยินดีตอนรับ…เป็นอย่างมาก
กระจกเป็นสีควันทึบเข้มจนผมมองไม่เห็นหน้าคนที่อยู่ข้างใน
「พาสปอร์ต!พาสปอร์ต!」
ยามที่ดูเหมือนจะเป็นคนไทยพูดขึ้น
ผมยื่นพาสพอร์ตผ่านช่องอันน้อยนิดไป
ผมรู้สึกอย่างแรงกล้า ถึง「ความรู้สึกที่พาสปอร์ตของผมหายเข้าไปแล้วจะไม่ได้คืน」แต่ผมก็ได้รับกลับมาอย่างปลอดภัยและเข้าสถานทูตได้ในที่สุด
พอเข้าไปแล้ว…
ก็ยังไม่รับรู้ถึงบรรยากาศของการต้อนรับใดๆทั้งสิ้น ดูไม่มีอะไรเลยจนผมสับสน
จากนั้น เป็นการเช็คสัมภาระ
ซึ่งให้ความรู้สึกเหมือนการเช็คสัมภาระที่สนามบินเลยครับ
ถึงจะเหมือนกับที่ว่าการอำเภอญี่ปุ่นก็จริง แต่ถ้าคิดสุ่มสี่สุ่มห้าเข้ามาง่ายๆ คงไม่ได้ เพราะที่นี่คือต่างประเทศครับ ประเทศไทยครับ
เพราะเป็นที่ว่าการอำเภอญี่ปุ่นที่อยู่ในประเทศไทย ดังนั้นสำคัญกว่าต้อนรับคือความปลอดภัย
และแล้วผมก็มาถึงสำนักงานกงสุลของสถานทูตครับ
มาขอออกเอกสารรับรอง「หนังสือปฏิญาณคุณสมบัติในการสมรส」และ「หนังสือรับรองความเป็นโสด」ที่ชั้น 1 ครับ
สถานที่ที่มีแต่คนญี่ปุ่นเต็มไปหมด ทำให้ผมรู้สึกประหม่าขึ้นมายังไงก็ไม่รู้ครับ
แต่ตอนที่เรียกคิวกลับเรียกแค่ภาษาไทยกับภาษาอังกฤษครับ เลยได้ความรู้สึกว่า อ้าวก็ไทยนี่หว่า กลับคืนมาอีกครั้ง
ก่อนที่จะรับบัตรคิวให้ไปติดต่อที่เคาเตอร์หมายเลข 4 ก่อน โดยบอกว่า「มายื่นเรื่องแต่งงานกับคนไทย」
ในขั้นตอนนี้จะได้รับ เอกสารคำถามเพื่อออก「หนังสือปฏิญาณคุณสมบัติในการสมรส」และ เอกสารใบคำร้องขอหนังสือรับรอง
หลังจากที่กรอกแล้ว ก็ให้กดรับบัตรคิว(คำร้องประเภทD)
เอกสารคำถามเพื่อออก「หนังสือปฏิญาณคุณสมบัติในการสมรส」นั้นจะมีคำถามทั้งหมด 5 หัวข้อ
- ประวัติการแต่งงาน (เคย/ไม่เคย)
- หลังจากแต่งงานแล้วจะอาศัยอยู่ที่ไหน?
- ชื่อคู่สมรสชาวต่างชาติเขียนเป็นภาษาอังกฤษ
- อาชีพของผู้ยื่นคำร้อง
- ชื่อผู้รับรองที่อาศัยในประเทศญี่ปุ่น 2 คน เขียนชื่อพร้อมที่อยู่
มีให้เลือกระหว่างญี่ปุ่น,ไทยและอื่นๆ
เขียนชื่อพ่อกับแม่(ฝ่ายญี่ปุ่น) ก็ได้ครับ
ในแผ่นใบคำร้องขอหนังสือรับรอง ให้กรอกข้อมูลชื่อจริง วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ปัจจุบันในไทย
เหตุผลการขอหนังสือรับรอง ที่ข้อ 7 ให้วงกลมที่แต่งงาน และวงกลมที่ข้อ12 ที่ว่าการอำเภอในไทย
ส่วนรายละเอียดคำขอ ทางเจ้าหน้าที่เป็นคนกรอกให้ตอนไปรับเอกสารที่เคาเตอร์ครับ
กรอกทั้งหมดเสร็จ และได้บัตรคิวมาแล้ว(คำขอประเภทD)ก็รอให้เจ้าหน้าที่เรียกตามคิวครับ
พอถึงคิว ก็ให้ยื่นเอกสารที่เตรียมมาและเอกสารที่กรอกเสร็จ
การดำเนินเรื่องขอเอกสารสารเสร็จไปอย่างราบรื่นก็จะได้รับใบนัดรับ ครับ
วันที่รับเอกสาร หนังสือปฏิญาณคุณสมบัติในการสมรส และ หนังสือรับรองความเป็นโสด เป็นวันถัดไปครับ
ตอนที่มารับเอกสารมีค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่าย 850 บาท ครับ
ผมต้องขอบริษัทลากิจมารับเอกสารอีกครั้งสินะ
เพิ่มเติม
ไปรับเอกสารมาแล้ว
เวลาทำการของสถานทูตญี่ปุ่นและวิธีเดินทาง
เวลายื่นและรับเรื่อง:8:30~12:00/13:30~16:00(วันจันทร์ – วันศุกร์)
วันหยุดสถานทูต:วันเสาร์อาทิตย์และวันหยุดราชการของไทย
รายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาดูที่เว็บไซต์ของสถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
http://www.th.emb-japan.go.jp/index.htm
วิธีเดินทางไป
ลงรถไฟใต้ดินMRT ที่สถานีลุมพินี ทางออกหมายเลข3จากนั้นเดินประมาณ 5 นาที